หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

บัตรทอง กับ การรักษาฟัน



จากอาการปวดฟันกำเริบมาอีกครั้ง  เนื่องจากได้รับการอุดฟันเมืื่อตอน  ม.ปลาย  แล้วฟันที่อุดมันแตกซะงั้น  ผ่านมาแล้วประมาณ 6 ปี วันนี้ก็เลยไปพบหมอที่ศูนย์การแพทย์  มทส.  เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นและทำข้อตกลงและตัดสินใจว่า  เราต้องการที่จะถอนฟัน  รักษารากฟัน  ครอบฟัน  หรือ อุดฟันเป็นต้น

แต่แล้วก็ตัดสินใจไม่ได้  เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในการรักษารากฟันมากนัก  อาจจะลืมด้วยซ้ำ  ก็เลยโทรไปปรึกษาคนรู้ใจ  ซึ่งทำงานเป็น  จนท.เภสัช  ที่  รพ. แห่งหนึ่ง  ก็ได้ความว่า
หากถอนก็ได้ถ้าฟันอยู่ด้านใน เพราะไม่มีใครเห็นได้ง่าย  แต่ถ้ารักษารากฟันแล้วอุดหรือครอบฟัน  ก็ได้น่ะ  แต่ว่ามีบัตทองไหม ???
พอโดนคำถามนั้น  ทำให้นึกถึงสิทธิของคนไทยที่ควรมี  ที่ควรจะได้รับบัตรทองกับใคร ๆ บ้าง  เนื่องจากผมเป็นลูกข้าราชการระดับรากหญ้าคนหนึ่ง  ก็เลยลืมไปว่าเรามีสิทธิในการทำบัตรทองนี้  เพราะว่าผมได้แต่ใช้สิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของบุตรข้าราชการ  ตอนนี้ผมก็อายุ 25 ปีแล้วล่ะ  

หลังจากพบหมอแล้วก็กลับมานั่งค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ  การทำบัตรทอง  หรือ  บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค หาไปหามาก็พอจะได้ข้อมูลดังนี้



ความเป็นมา

     จากการที่รัฐบาลปัจจุบันมีความตั้งใจที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ โดยถ้วนหน้า และได้ริเริ่มนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำ     เนื่องจากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านี้เป็นเรื่องใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการสื่อสาร ทำความเข้าใจ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน และต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการสอบถามปัญหาข้อข้องใจอละข้อร้องเรียน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อน วิตกกังวลของผู้รับบริการ และยังเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการได้รับทราบข้อบกพร่องของการให้บริการ ซึ่งจะสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้น สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานอีกด้วย      กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายที่จะให้สถานบริการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้น และมีการดำเนินงานเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ สำหรับในส่วนกลาง ได้จัดตั้งหน่วยรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยใช้ชื่อ " ศูนย์บริการประกันสุขภาพ "  
  
วัตถุประสงค์


  1. เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  2. เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล ข่าวสาร แนะนำการให้บริการ ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา
  3. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และเกิดความพึงพอใจ



พันธกิจ 


  • คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้รับบริการ
  • พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งเชิงรุกและเชิงรับ



บทบาทหน้าที่


  1. รับเรื่องร้องทุกข์ ชี้แจงตอบข้อข้องใจ บรรเทาความไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ รวมทั้งการติดตามปัญหาให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ โดยจัดให้มีระบบการตอบกลับ หรือแจ้งความคืบหน้าทุกราย
  3. รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  4. ประสานงานระหว่างผู้รับบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  5. ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้รับบริการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
  6. สรุป รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอต่อคณะกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแก้ไข และปรับปรุงระบบการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ใครมีสิทธิ์ได้บัตรทอง

ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทอง คือ ประชาชนสัญชาติไทยทุกคน ที่ยังไม่มีสิทธิใด ๆ จากหลักประกันอื่นที่รัฐจัดให้

ยกเว้น
  • ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
  • ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  • ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ
ทำอย่างไรถึงได้บัตรทอง

ต่างจังหวัด  ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
  • สถานีอนามัย
  • โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
  • สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน 
  • เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา  08.30 - 16.30 น.
  • สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต
  • เปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น.
  • ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
  • เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
รถประจำทางที่ผ่าน 
  •    รถประจำทางสาย : 52 . 356 ,150 , 166
  •    รถประจำทางปรับอากาศสาย :  356 , 166 
  •    รถตู้ประจำทางสาย  :  ปากเกร็ด-จตุจักร   ปากเกร็ด-อนุสาวรีย์ชัสมรภูมิ  ปากเกร็ด- ม.รามคำแหง ปากเกร็ด-มีนบุรี  ปากเกร็ด-รังสิต
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง?

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กต่ำกว่า 15 ปี  ใช้สำเนาใบสูติบัตร หรือใบเกิด)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
  3. กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้เพิ่มเติมสำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือ ชื่อเจ้าของบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนรับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง หรือรับรองตนเองพร้อมแสดงหลักฐานอื่นประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สัญญาเช่า ที่มีชื่อตนเอง เป็นต้น
บัตรทองหายทำอย่างไร

ถ้าประสงค์ใช้สิทธิรักษาโรงพยาบาลเดิมที่มีสิทธิอยู่ สามารถติดต่อขอรับบัตรใหม่ได้ หรือถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยบริการต้องลงทะเบียนใหม่  

ใช้หลักฐานที่ใช้ในการติดต่อมีอะไรบ้าง?
  1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กต่ำกว่า 15 ปี ใช้ สำเนาใบสูติบัตร หรือใบเกิด)
  2.  สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์มากมายนะครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
ขอขอบคุณคนรู้ใจ

ที่มาของข้อมูลบัตรทอง  สนง.ประกันสุขภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น