หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำไม..??? จึงต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู



ตามกฎหมาย พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546  ได้กำหนดให้ ”วิชาชีพครู” เป็นวิชาชีพควบคุม ต้องมี "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"  จึงจะเป็น "ครู" ได้  เช่นเดียวกับ หมอ หรือ วิศวกร ฯลฯ

ความหมายก็คือ  ใครที่ทำหน้าที่  "ครู"  สอนหนังสือ ในสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาใด ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน  ต้องเป็นผู้ได้รับ "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" แล้วเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็น “ข้าราชการครู”  “ครูอัตราจ้าง”  “พนักงานราชการ” รวมทั้ง “ครูชาวต่างประเทศ” ด้วย

ดังนั้น การประกาศสอบบรรจุ ”ครูผู้ช่วย” หลังจาก พรบ.ฉบับดังกล่าวประกาศใช้ ผู้ที่ประสงค์จะประกอบ "วิชาชีพครู" ต้องขอมี "ใบอนุญาตผู้ประสงค์ประกอบวิชาชีพครู” ก่อน ถ้าไม่มี ก็สมัครสอบบรรจุครู(ทุกส่วนราชการ)ไม่ได้

โดยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ออกให้ครั้งละ 5 ปี เสียค่าธรรมเนียม 500.- บาท ครบ 5 ปี ก็มาขอต่อใบอนุญาตกันใหม่  โดยจะมีการประเมิน(หรือสอบ)ก่อนต่อใบอนุญาตด้วย  ซึ่งอาจจะมี “ข้าราชการครู”  “ครูอัตราจ้าง” หรือ  “พนักงานราชการ” บางคนที่ไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตในตอนนั้น

นั่นก็หมายถึงการจบอาชีพครูไปด้วยในเวลาเดียวกัน... ซึ่งอาจถูกสั่ง  "ให้ออกจากราชการ" เนื่องจากขาดคุณสมบัติ ฯ ได้  กรณีเป็น ”ครูอัตราจ้าง” หรือ “พนักงานราชการ” ที่ทำหน้าที่สอนก็อาจต้องเลิกจ้างโดยปริยาย

”การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”  สำหรับคนที่เป็นครูอยู่แล้วก่อน พรบ.ฉบับดังกล่าวบังคับใช้  ต้องยื่นขอทุกราย แต่ไม่เสียค่าธรรมเนียม  เพราะเป็นครูอยู่ก่อนวันที่ พรบ.ประกาศใช้  โดยต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูภายในระยะเวลา 3 ปี  หลัง พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้ (ตามบทเฉพาะกาลของ พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546)

ส่วนใครที่จบปริญญาตรีหลังจากวันที่ 11 มิถุนายน 2549  ต้องผ่านการประเมิน (หรือสอบ)มาตรฐานวิชาชีพครูก่อน  จึงจะขอใบประกอบวิชาชีพครูได้  

มติคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 6/2547 วันที่ 20 ก.ค. 2547  ให้ผู้ที่มีคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี  ซึ่งเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในวันที่ 12 มิ.ย. 2546  บุคคลเหล่านี้จะจบการศึกษาในปีการศึกษาใดก็ตาม  สามารถใช้วุฒิทางการศึกษาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น