หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำไมแค่เก่ง.. จึงไม่ประสบความสำเร็จ ???


ออกจะเป็นชื่อที่ดูท้าทายสวนกระแสความเชื่อของสังคมอยู่นิด ๆ เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อหรือมีค่านิยมทางสังคมกันไปว่าคนเก่งเกรดเรียนดีคนนำาเสนอเก่งพรีเซนต์คล่องคงเป็นคนที่ต้องประสบความสำาเร็จแน่มากกว่าคนธรรมดาชาวบ้านร้านตลาดทำาทว่าทำาไมคนเก่งบางคน จึงมีแต่คนเกลียด? และคนที่ประสบความสำาเร็จนั้น เป็นคนเดียวกันกับคนเรียนเก่ง หรือไม่?

ทุกวันนี้การให้สิทธิพิเศษหรือการให้อำานาจแก่คนเก่ง “ทำคะแนน” เพียงเท่านั้น กลับเป็นค่านิยมหลักของการคัดเลือกและตัดสินคุณภาพมนุษย์ด้วยกันเอง มากกว่าการพิจารณาเหตุปัจจัยสำาคัญด้านอื่นๆที่สำาคัญไม่แพ้กัน Dr.John C. Maxwell* เชื่อว่า ความเก่งจากพรสวรรค์และสติปัญญาเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่พอที่จะเป็นเครื่องการันตีให้ได้ว่าเราจะประสบความสำาเร็จ ซึ่งชื่อบทความนี้จึงมาจากหนังสือของเขา ในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Talent Is Never Enough” หรือในฉบับแปลไทยคือ “แค่เก่ง...ไม่พอ” ซึ่งเขาได้เสนอปัจจัยประกอบอีก 13 คุณสมบัติ ที่ต้องมีในผู้ที่จะก้าวข้ามขีดจำากัดของความเก่งขึ้นไปสู่ความสำาเร็จไว้เรียบเรียงสรุปได้ ดังนี้

1. มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในศักยภาพของตัวเอง (Belief)  
คนที่ประสบความสำาเร็จจะต้องมีความเชื่อมั่นว่า ตนเองมีความสามารถที่จะทำาสิ่งเหล่านั้นได้ และนั่นจะสร้างพลังที่จะทำลาย ข้อจำากัดหรือความกังวลเริ่มต้นของคุณได้เปิดทางสู่การยกระดับความสามารถและความท้าทายใหม่ๆ


2. มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า (Passion) 
ผู้แต่งเชื่อว่า คนที่มีความเก่งไม่ได้สูงมากแต่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าก็สามารถก้าวขึ้นมาเหนือคนเก่งที่มีความสามารถสูงแต่เอื่อยเฉื่อยกับชีวิตได้ (A passionate person with limited talent will outperform a passive person who possesses a greatest talent.) เมื่อเรามีความมุ่งมั่นมาจากข้างใน จะทำาให้เกิดพลังที่แสดงผ่านออกมาทั้งทางบุคลิกภาพท่าทาง คำาพูด ดูน่าเชื่อถือ ผู้ฟังจะเกิดกำาลังใจ มีความกระตือรือร้นและเต็มใจให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที

3. มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative)
 การสร้างจินตนาการนั้นแตกต่างจากการฝันกลางวันตรงที่จินตนาการแล้วต้องลงมือกระทำาด้วยเสมอ แต่การฝันกลางวันคือ การวาดภาพในอากาศแต่ไม่เคยมีการลงมือกระทำาใดๆเลย ผู้แต่งเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นเพียงการรอคอยปัจจัยภายนอก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาชั่วชีวิตก็เป็นได้ในการรอคอยให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ในทางกลับกัน การพยายามริเริ่มความคิดที่สร้างสรรค์จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถ และช่วยให้สิ่งต่างๆ ที่เราวาดฝันไว้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

4. มีเป้าหมายชัดเจน (Focus)
 การมีเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้แต่งกล่าวว่า นั่นคือการมีสมาธิ เพราะคนที่มีสมาธิจะไม่หัวเสียไปกลับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่จะมาขัดขวางสติปัญญา แต่จิตจะพุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ช่วยให้เราเกิดความกระตือรือร้นและมุ่งมั่นในการทำาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำาเร็จ แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งการยึดติดกับเป้าหมายมากเกินไป อาจจะเป็นการดื้อรั้นที่ผิดทางก็เป็นได้ ดังนั้นต้องมีสติคอยตรวจสอบระหว่างทางอยู่เสมอด้วย โดยการหมั่นถามกับตัวเองว่า ขณะนี้เรากำาลังทำาสิ่งใด เพื่ออะไร ตรงประเด็นอยู่หรือไม่ อยู่ห่างจากเป้าหมายมากน้อยเพียงใด และต้องทำาสิ่งใดอีกบ้าง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว การทบทวนจะทำาให้เราไม่หลุดทิศทางออกไปจากเป้าหมาย และไม่เสียเวลาไปกับเส้นทางที่ผิด

5. มีการเตรียมตัว (Preparation)
 การเตรียมตัวนั้นจะช่วยสร้างความพร้อมในการแสดงความสามารถ ให้อยู่ถูกที่ถูกเวลาได้อย่างเหมาะสมเรียกว่าเตรียมพร้อมรับมือไปกับแต่ละสถานการณ์ เป็นการทบทวนรวบความคิดของเราให้กระชับ อีกทั้งยังเป็นการให้เกียรติผู้อื่นด้วย เช่น ในกรณีที่เราจะต้องนำาเสนอโครงงานให้เพื่อนร่วมงานฟัง แม้ว่าเราจะเคยนำาเสนอโครงงานนี้มาแล้วก็ตามที แต่ก็ควรเตรียมตัวไปเสมอ เพราะในการนำาเสนอแต่ละครั้ง จังหวะเวลาและสถานการณ์แวดล้อมย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้

6. มีการฝึกฝน (Practice)
 การฝึกฝนอยู่เสมอ จะช่วยให้เรามีสติปัญญาที่ลุ่มลึกมากขึ้นและรู้จักตัวเองมากขึ้น เช่น เราถนัดทำางานในช่วงใดของวัน ในสภาพแวดล้อมแบบใด หรือเราชอบมอบหมายงานให้ลูกน้องแบบใด เป็นต้น

7. มีความมานะพากเพียร (Perseverance)
 ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างของ “วอลท์ ดิสนีย์” ไว้ว่า ถึงแม้เขาจะต้องเพียรพยายามในการขอเงินกู้มากกว่าสามร้อยครั้ง เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการสร้างดิสนีย์แลนด์แห่งแรกในลอสแองเจลลิส แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาทำาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะทำาให้เขายุติความพยายามได้ก็คือ ความสำาเร็จจากการที่เขาพยายามทำาสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง

8. มีจิตใจเข้มแข็งและกล้าหาญ (Courage)
 ความกล้าหาญในที่นี้คือ ความกล้าที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ทั้งความสมหวังและความผิดหวัง กล้าที่จะรับบททดสอบจากปัญหาและอุปสรรคระหว่างทางที่มุ่งสู่ความสำาเร็จ

9. มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา (Teachability)
 คนที่ประสบความสำาเร็จได้ ต้องมีจิตใจที่เปิดกว้าง ใฝ่เรียนรู้ และยอมรับองค์ความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าตนเองจะประสบความสำาเร็จมามากมายแค่ไหนแล้วก็ตาม

10. มีลักษณะนิสัยที่ดี (Character) 
 คนเก่งบางคนทำางานเก่งมาก ไปถึงเป้าหมายที่กำาหนดไว้ได้ตามผลสัมฤทธิ์ที่หวัง แต่ทำาไมถึงมีคนเกลียดไปทั่วบ้านทั่วเมือง นิสัยที่ไม่ดี ขัดต่อจรรยาบรรณ ขัดต่อศีลธรรม ก็ต้องแก้ไขให้ดี เพราะไม่มีใครที่อยากจะทำางานกับคนที่มีนิสัยพูดยุแยงนินทาว่าร้าย ป้ายความผิดให้ผู้อื่น หรือทำาอะไรไม่รู้จักกาลเทศะ การมีนิสัยที่ดีงามจะเป็นส่วนเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพให้แก่คุณได้ จงอย่าลืมว่ามนุษย์มักเลือกที่จะจดจำาส่วนที่ไม่ดีของผู้อื่นมากกว่าส่วนที่ดี ดังนั้นภาพพจน์ ชื่อเสียงจึงเป็นสิ่งที่จะต้องรักษาไว้ดั่งชีวิต เพราะหากพลาดเพียงครั้งเดียวก็เท่ากับทำาลายสิ่งดีๆ ที่เคยสั่งสมมาให้หายไปได้ภายในพริบตาเดียว

 11. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง 
 การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างนั้นมีอิทธิพลต่อโอกาสต่างๆ ที่จะเสริมสร้างศักยภาพเรา แต่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้น ต้องไม่ขัดต่อหลักการความถูกต้อง ไม่ใช่ยอมรอมชอมไปผิดๆ เพียงเพื่อหวังซื้อใจ นอกจากนี้เราควรเลือกบุคคลที่จะคบหาสมาคมด้วย อย่าตัดสินคนจากคำาพูด รูปลักษณ์ภายนอก หรือการกระทำาเพียงผิวเผินของเขา ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การสังเกตดูจากคนรอบข้างของคนๆ นั้น เพราะคนคล้ายคลึงกันมักคบหากัน เช่น คนที่ซื่อสัตย์ย่อมทนไม่ได้ที่จะอยู่ร่วมกับคนที่โกง เป็นต้น

 12. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผู้ที่ไต่บันไดสู่ยอดของความสำาเร็จ ย่อมมีผู้ร่วมงาน ผู้ตามหรืออยู่เบื้องหลังอีกมาก เมื่อเกิดปัญหาในความรับผิดชอบ ต้องไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม

 13. มีทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Teamwork)
การทำงานให้ประสบความสำาเร็จ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความสามารถในหลายๆ ด้านเข้ามาช่วยกันระดมสมอง เพื่อขยายขอบเขต มุมมองแนวคิดจินตนาการออกไปให้กว้างไกลมากขึ้น ฉะนั้นคนที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และจะต้องเน้นเรื่องงานเป็นหลักมากกว่าเรื่องส่วนตัว

ความจริงแล้วปัจจัยสู่ความสำาเร็จเหล่านี้ มีอยู่ในพุทธศาสนามาก่อนแล้วกว่าสองพันห้าร้อยปี นั่นคือหลัก “อิทธิบาท ๔”** ซึ่งแปลว่า “บาทฐานแห่งความสำาเร็จ” หรือคุณธรรมที่นำาไปสู่ความสำาเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย (path of accomplishment; basis for success) ซึ่งจำาแนกไว้เป็น ๔ คือ

 อิทธิบาท ๔ จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
  • ๑. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำา ใฝ่ใจรักจะทำาสิ่งนั้นอยู่เสมอแลปรารถนาจะทำาให้ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป - will; aspiration) 
  • ๒. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
  • ๓. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำาและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไปมีความมุ่งมั่นมีสมาธิต่อสิ่งนั้น - thoughtfulness; active thought)
  • ๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำานั้น มีการวางแผนวัดผลคิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)
จะเห็นได้ว่าหัวใจสำาคัญของการเป็นผู้ที่จะประสบความสำาเร็จไม่ว่าจะแวดวงใดก็ตาม หนีไม่พ้นเรื่องของการต้องเป็นคนดี มีศีลธรรม มีสติคิดอย่างมีปัญญาและมีสมาธิเป็นพื้นฐาน ทั้งศาสตร์ของตะวันตกและตะวันออก ไม่ว่ายุคสมัยจะผ่านมากี่พันปีปัจจัยแห่งความสำาเร็จแทบไม่ต่างกันขอเพียงตั้งใจที่จะทำาให้จริงและครบทุกข้อเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น