หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จัดระบบปลูกข้าว (เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต)



กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรฯ ให้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อน โครงการจัดระบบการปลูกข้าว ซึ่งในปี 2555 นี้ ได้ดำเนินการในเขตชลประทาน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี มีเป้าหมายดำเนินการจัดระบบปลูกข้าว 1.5 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกถั่วเขียว 700,000 ไร่ พืชหลังนาชนิดอื่น ๆ อาทิ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน 150,000 ไร่ พืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ โสนอัฟริกันและปอเทือง จำนวน 150,000 ไร่ และปลูกข้าวพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน 500,000 ไร่
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรมีภารกิจในการฝึกอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับโครงการจัดระบบการปลูกข้าว การปลูกพืชหลังนาหรือพืชปุ๋ยสดโดยมีข้าวเป็นพืชหลัก เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดระบบปลูกข้าวแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
  • 1) ฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกพืชหลังนาและพืชปุ๋ยสดให้กับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดและระดับอำเภอ จำนวน 540 คน ในพื้นที่โครงการ 11 จังหวัด โดยวิทยากรจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นวิทยากรอบรมเกษตรกรเป้าหมายต่อไป ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมครบตามเป้าหมายแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2555 ประการที่ 
  • 2)ฝึกอบรมเกษตรกร โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเป็นวิทยากรฝึกอบรมเกษตรกร เป้าหมาย 50,000 ราย ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย ผลกระทบจากการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ระบบบริหารจัดการน้ำชลประทาน การปลูกพืชหลังนาและปุ๋ยพืชสด อาทิ ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน  ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ โสนอัฟริกัน และปอเทือง เป็นต้น

การจัดระบบปลูกข้าว โดยให้ปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี มีข้อดี คือ 
  • สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้จากการใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพในปริมาณพอเหมาะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูข้าวถูกวิธีตามคำแนะนำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลงตันละ 1,037 บาท 
  • ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งการปะปนของข้าววัชพืชหรือข้าวดีดข้าวเด้งที่สะสมจากการทำนาแบบต่อเนื่อง ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ในสถานการณ์ปกติ 
  • กรณีที่เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การจัดระบบการปลูกข้าวจะส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเดิมถึงไร่ละ 892 บาท ลดการปลูกข้าวคุณภาพต่ำที่มีอายุสั้น จะทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่โดยรวมเพิ่มขึ้น

อีกทั้งยังช่วยให้ระบบนิเวศในพื้นที่นาเขตชลประทานดีขึ้นจากการพักดินหรือการปลูกพืชอื่นหมุนเวียน ทำให้พื้นที่นาได้รับการฟื้นฟู ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะการปลูกพืชตระกูลถั่วหมุนเวียน เป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีได้ ลดปริมาณก๊าซมีเทนซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน และเป็นการฟื้นฟูแมลงตามธรรมชาติซึ่งจะช่วยควบคุมและลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ และยังเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตพืชไร่บางชนิดและทดแทนการนำเข้า เช่น ถั่วเขียว
หากเกษตรกรในเขตชลประทานร่วมมือกันจัดระบบการปลูกข้าว โดยลดจำนวนครั้งของการปลูกข้าวนาปรังลงจาก 2 ปี 5 ครั้ง เหลือปีละไม่เกิน 2 ครั้ง จะส่งผลดีต่อเกษตรกรโดยเฉพาะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและได้ผลตอบแทนสูงขึ้น....ที่สำคัญยังทำให้ผลผลิตข้าวโดยรวมทั้งประเทศเพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้าข้าวไทยในตลาดโลกได้

6 ความคิดเห็น:

  1. เกษตรกรรมต้องทำอย่างไรให้้นทุนต่ำลงและทำได้ด้วยตัวเกษตรกรเองการรู้จักบริหารต้นทุนด้วยนเองและการดูแลอย่างถูกต้องก็คือผลผลิตที่ดีขึ้นส่งผลต่อรายได้ความเป็นอยู่ที่ดีของภาคเกษตรกรรม..จากการที่รับออกมาสั่งควบคุมการไม่ให้ปลูกข้าวเกินกว่าปีละสองครั้งนั้น โดยความหมายไม่เห็นด้วย เพราะ"คนที่ทำเงินเดือน"ยังไม่มีการขีดกั้นให้ทำได้กี่เดือนและทำไมต้องจำกัด สิ่งที่รัฐควรต้องทำคือ ทำอย่างไร? ให้ เกษตรกรเขาทำได้ปีละมากครั้งและต้องทำได้ดีด้วย..ตรงนี้คือสร้างมูลค่า..มิใช่ไปตัดค่าของเกษตรกร.หากจะอ้างน้ำแล้งน้ำท่วม..ครม.มีหน้าที่ทำให้มันพอเหมาะพอดี...ตรงนี้ทำได้.มีวิธีการที่สามารถจัดการได้เช่นชลประทานทางท่อ..ปลูกไดทุกที่ที่เกษตรกรต้องการทำแม้ในที่สูงบนดอยก็คือเกษรกรรมกู้ชาติ..

    ตอบลบ
  2. สำคัญคือแหล่งน้ำต้องถึงที่นาทุกแปลง ความรู้ต้องเข้าถึงชุมชนทุกชุมชนอย่างแท้จริงไม่ใช่มีแต่โครงการโปรโมทคนที่ได้เข้าอบรมก็แค่คนไม่กี่คนเริ่มโครงการแล้วก็ต้องติดตามจนกว่าปชชที่เป็นชาวไร่ชาวนาจะเข้าถึงโครงการทุกครัวเรือนทำให้เหมือนตอนไปหาเสียงสิเข้าทุกบ้านเคาะทุกหลังยังทำกันได้เรื่องแบบนี้ไม่ใช่ออกสื่อว่ามีโครงการของบไปแต่โครงการได้ผลแค่สิบ%สุดท้ายชาวนาก็ยังลำบากเหมือนเดิม

    ตอบลบ
  3. เป็นเรื่องที่น่าจะส่งเสริมให้ชาวนาทำอย่างจริงจังเพราะที่ผ่านมาชาวนาไม่ค่อยยอมรับวิธีการต่างๆจากหน่วยงานรัฐมากนัก จึงไม่ค่อยมีใครปฏิบัติตาม ประกอบกับสภาพสังคมปัจจุบันส่งเสิมให้มีการบริโภคมาก เป็นการกระตุ้นชาวบ้านให้อยากมีเหมืองคนอื่นๆจนเกินความพอเพียงหรือความจำเป็นของการดำเนินชีวิต จึงมีการเร่งการทำนาอย่างต่อเนื่องจนเกินไป

    ตอบลบ
  4. อยากให้ชาวนามีความรู้มีเหตุมีผลไม่ใช้ทำนาอยุ่ในความรู้สึกมีมีชลประธานทีดีมีความรู้เทคโนโลย๊่ช่วยลดต้นทุนในการทำนามีแผนงานเป็นระบบความรู้ขอชาวนาเป็นปัญหาอยากให้รัฐดุแลอย่างจริงใจทำในสิ่งที่ถูกชาวนาคือผู้ที่ปลูกข้าวให้เรากิน

    ตอบลบ
  5. เห็นพูดกันมาตั้งแต่สมัยพ่อใหญ่ลีตีกลองประชุมแล้ว เมื่อชาวนาจะลืมตาอ้าปากได้สักที

    ตอบลบ
  6. Look at the Japaness farmers , the government give them a good chooise, but thai farmers are real poor

    ตอบลบ