หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Google camera ใช้ง่ายหลากหลายแบบ

วันนี้ลองค้นหาบริการของ google เผื่อว่ามีอะไรเด็ดๆให้ลองใช้  ผมก็พบเข้ากับ google camera ตัวนี้  ว่าแล้วก็ลองใช้สักหน่อย  พบว่า  ใช้งานได้เร็วและง่ายตามแบบฉบับของพี่ google เค้าล่ะ

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โกโก้ ร้อนๆ สักแก้วไหม...

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Concept Design Style Topp (หลักการออกแบบ)



บ่อยครั้งที่ผมต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบ  ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นผู้ออกแบบโดยตรงก็ตาม ลักษณะงานบางอย่างไม่สามารถคำนวณได้ด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์  การคำนวณที่ได้จึงไม่ตรงตามการปฏิบัติงานจริง   เป็นเพราะอะไร?  ขาดอะไรไป ?  ขาดข้อมูลส่วนไหน ?  แล้วเราจะทำอย่างไร ?  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงในการออกแบบ  ไปดูกันว่ามันมีอะไรบ้าง !!???

มุมมองต่างๆ  ที่ต้องคำนึงถึงมีประมาณนี้ครับ
  1. พื้นฐานการคำนวณ
  2. มุมมองทางกลศาสตร์
  3. มุมองทางไฟฟ้า
  4. มุมมองทางการผลิต
  5. มุมมองผู้ใช้งาน
  6. มุมมองด้านธุรกิจ
  7. ค่าคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้
  8. จุดเหมาะสมที่สุด !!!
  9. ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลกระทบจากความคลุมเครือของการบริหารงานในบริษัท


นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องศึกษาเรื่องเหล่านี้อย่างมากและจริงจัง  ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดในชีวิตและอาจจะยังไม่มีใครเขียนเป็นหนังสือให้อ่านมากนัก  AEC ก็กำลังจะเปิดขึ้นอย่างเป็นทางการ  บริษัทต่างๆ เริ่มปรับตัวกันอย่างหนักและอาจจะไม่ทัน  เพราะบริษัทอื่น  ๆ เขาปรับกลยุทธกันไปหมดแล้ว  ประเมินสถานการณ์การแข่งขันไว้แล้ว

การทำงานในปัจจุบัน  หากบริษัทใดบริหารงานไม่โปร่งใส  มีอะไรก็ไม่บอกพนักงาน  งุ้บงิ้บ  ไว้แต่ในส่วนบริหารงาน  โบนัสไม่จ่าย  สิ่งเหล่านี้จะทำให้พนักงานหมดกำลังใจในการทำงาน  หมดศรัทธาองค์กร  อาจทำให้เกิดภาวะขาดคนทำงาน  พนักงานลาออก  เพราะว่าพนักงานไม่ได้โง่ และ มีใจรักองค์กรอยู่มากเช่นกัน  (ตามนโยบายของบริษัท)

บริษัทที่ดีต้องเปิดเผยในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น  การปิดบังไม่ได้ก่อให้เกิดสิ่งดีแน่นอน  สักวันพนักงานก็ต้องรู้อยู่  ไม่วันใดก็วันหนึ่ง  และเมื่อนั้น  จะมาแก้ไขเรื่องเหล่านี้ก็คงยากและสายเกินไปแล้ว

บริษัทที่พนักงาน "มีความสุขที่สุด" ในญี่ปุ่น


ผมก็เป็นหนึ่งในชีวิตการทำงานประจำ  งานโรงงาน  เนื่องจากทำงานเป็นวิศวกรประจำโรงงาน  มีความคิดอยู่ช่วงและแหวกแนว  จากนั้นกมาพบกับกระทู้หนึ่งจากเว็บ Pantip.com ก็เกิดสะกิด จน สะดุด บทความนี้  ก็เลยนำมาฝากเพื่อน ๆ ด้วยเช่นกันครับ เผื่อได้แง่คิดอะไรสักอย่าง  นำไปใช้กับชีวิตข้างหน้า  อาจจะมีบริษัทของตนเองก็ได้...



ในเมื่อเราไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ทำยังไงก็ได้ให้ต่างจากบริษัทอื่น" และนี่คือจุดเริ่มต้นของนโยบายของทุกสิ่งทุกอย่างที่แปลกแหวกแนวแต่ดีต่อพนักงานโคตรๆ ฟังเรื่องของผมจากนี้ แล้วถามตัวเองดูนะครับว่า 

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มีใครทำงานบริษัทเดียวตลอดชีวิตบ้าง?

เนื่องจากได้อ่านมาหลายกระทู้ตามเว็บไซต์ต่างๆ ก็เลยโยงมาหาชีวิตของเราบ้าง  ว่าสิ่งแวดล้อมการทำง่น  ระบบงาน  และอื่นๆ  จะส่งผลให้เราเปลี่ยนงานใช่หรือไม่  แล้วผู้ทำงานนานๆในบริษัทหนึ่งๆ เขาอยู่ได้อย่างไร  มีอะไรแตกต่างกันบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีจัดการกับองค์กรที่ไร้ระบบงาน



"การทำงานที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ"  ในความเป็นจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น  เพราะว่ามีปัจจัยหลายสิ่งหลายอย่างมาบิดเบือน  ประสิทธิภาพ และ คุณภาพเหล่านั้น  

การได้กับทำงานกับบริษัทที่มีระบบงานดี  ชัดเจน  ถือว่าโชคดีของหลายๆ คน  แต่ในทางกลับกันก็มีหลาย ๆ คนทำงานกับบริษัทที่ระบบงานไม่ดี เช่น

  • มีระบบ IT แต่ไม่ Support การทำงาน  ออนไลน์ช้า  Server ล่มบ่อย
  • มีเครื่องจักร  แทนที่จะช่วยคนทำงาน  แต่ต้องให้คนช่วยเครื่องจักรทำงาน  เอ๊ะยังไง ?
  • ระบบเอกสาร  การจัดเก็บข้อมูล  ยังต้องใช้เวลานานในการทำงาน
  • ฯลฯ
จริง ๆ แล้วเราสามารถจัดการงาน  จัดระบบงานให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง  กับงานที่ตนเองรับผิดชอบ  แต่ถ้าจะจัดระบบให้ดีได้ทั้งองค์กรนั้น  ผมแนะนำว่า
ปิดบริษัท  แล้วปรับปรุง ดีกว่า !!
เพราะว่าจะให้คน ๆ เดียวพัฒนาระบบงานได้ดี  แต่ไม่มีใครเอาด้วยก็ไร้ประโยชน์  เอาเป็นว่าถ้ายังทำงานที่เหล่านี้ต่อไป  ก็ควรต้องทำแบบนี้ครับ

วิธีจัดการความไร้ระบบ  ให้เป็นระบบ

  1. เมื่อได้ทำงานกับลักษณะงานใหม่ หรือ เก่า แต่ยังไม่มีระบบงานรองรับ  เอกสาร  เครื่องมือต่าง ๆ ก็ยังไม่พร้อม  ก็ให้เราทำงานนั้นไปก่อนจนกระทั่งงานนั้นสำเร็จลุล่วง  อาจจะติดขัดเรื่องต่าง ๆ ก็ไม่เป็นไร
  2. จากนั้น  ก็มานั่งเรียบเรียงวิธีการทำงานเหล่านั้นให้ลื่นไหล  อาจจะเขียนเป็น Flow chart หรือ Process chart เพื่อให้เข้าใจง่าย  รวมทั้งเอกสารและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในแต่ขั้นตอนให้ชัดเจน
  3. แล้วรวบรวมเป็นคู่มือส่วนตัวไว้เลย  หากงานนั้นเข้ามาอีก เราก็เปิดคู่มือนี้ทำตามได้ทันที  แต่อาจจะยังไม่สมบูรณ์ดี  เราก็ทำงานแก้ไข Revision 0  1   2  3  ...  ซะเลย  เมื่อเราไม่ได้ทำงานเหล่านั้นแล้ว  อาจมีคนอื่นมาทำงานนั้นแทนเรา เราก็มอบคู่มือเล่มนั้นให้เขาไปเลย  รอให้เขามาปรึกษาก็พอ
ผมคาดว่าหลาย ๆ คนคงจะได้ที่ทำงานที่ไม่มีระบบงานชัดเจนซะเป็นส่วนใหญ่  อาจตกอยู่กับชะตากรรมเดียวกันแบบผม  ก็เลยเขียนบทความนี้  อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เพื่อน ๆ ทำงานได้เป็นระบบมากขึ้น  และหากเพื่อน ๆ มีวิธีอื่น ๆ ก็สามารถแบ่งปันกันได้นะครับ  

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

" 4 ปี & 1 คืน " ความสุข ที่แสนสั้น !


มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10/7/14 ที่ผ่านมาซึ่งไม่น่าเชื่อว่าผมจะต้องมาเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ผมกับแฟนคบกันมา 4 ปีแล้ว กำลังจะเข้าสู่ปีที่ 5 หลายคนอาจมองว่าน้อยไป แต่สำหรับผม ระยะเวลา 4 ปี มันมีค่ามาก เราสองคนคบกันเป็นแฟนตั้งแต่สมัยเรียน ป. ตรี ซึ่งผมเรียนคนละคณะกับเขา เขาเรียนปี 3 ผมเรียน ปี 2 แต่อายุเราเท่ากัน เราสองคนร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ผ่านเหตุการณ์ ที่เลวร้ายมามากพอสมควร มากจนพอที่ผมคิดจะแต่งงานกับเขา ตอนไปเรียนก็ต้องนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปเรียน ฝนตก ก็เปียกด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งหลายๆ เหตุการณ์มันมีความประทับใจของมันแฝงอยู่ในตัวอยู่แล้ว 

จนกระทั่งผมเรียนจบก่อน แล้วผมได้งานทำแถวตลาดกิ่งแก้ว ถนนบางนา-ตราด ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และเป็นบริษัทชั้นนำ ระดับต้นๆ ของประเทศ โดยตำแหน่งที่ผมได้รับ คือ Project Engineer บทบาทหน้าที่รับผิดชอบมันต่างจากที่ผมคิดโดยชิ้นเชิง ใครทำตำแหน่งนี้ได้ต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าคนอื่นประมาณ 2-3 เท่าตัว ยอมรับว่าเหนื่อยมาก และผมก็เต็มใจยอมรับมัน มันจึงทำให้เกิดช่องว่างตรงนี้ ระหว่างผมกับแฟน จากช่องเล็กๆ ที่ไม่มีอะไร จนสุดท้ายมันกลายเป็นช่องว่างที่ใหญ่โตจนผมไม่สามารถหาอะไรมาประสานมันคืนได้ เหมือนเดิม จนกระทั่งแฟนผมเรียนจบ หางานทำได้ ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติ เมื่อคนเราไปเจอสังคมที่เปลี่ยนไป ความต้องการมันก็ต้องมีเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา จากแต่ก่อนใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดา ก็สามารถอยู่ได้ แต่เมื่อเริ่มทำงานเห็นคนอื่นเขาใช้ยี่ห้อ ดีๆ พวกสมาร์ทโฟน ต่างๆ ก็อยากได้เหมือนเขาบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าผมพยายามทำงาน หาเงิน เพื่อที่จะนำไปใช้จ่าย support กับความต้องการของแฟนผม ซึ่งผมก็รับปากว่าจะหาให้ ถ้าซื้อสดไม่ได้ก็จะช่วยกันผ่อน 

"สหกิจศึกษา สู่อาเซียน" !?



ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท  สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า “ตามที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) ประมวลผลการสำรวจ พบว่ามีบัณฑิตบางสาขาวิชาและหรือบัณฑิตที่จบการศึกษาจากบางสถาบันถูกขึ้นบัญชีดำที่สถานประกอบการจะไม่รับเข้าทำงาน เพราะขาดทั้งความรู้ ทักษะและประสบการณ์  ในฐานะที่ มทส. ได้ตระหนักถึงปัญหานี้ตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ จึงได้นำสหกิจศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร โดยได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ ร่วมมีบทบาทในการผลิตกำลังคนระดับสูง โดยรับนิสิต นักศึกษาในระดับชั้นปีที่สามและปีที่สี่ เข้าปฏิบัติงานเต็มเวลาในฐานะผู้ช่วยวิศวกร ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยนักเทคโนโลยีและอื่น ๆ ซึ่งขณะปฏิบัติงานอยู่นั้น สถานประกอบการจะมีส่วนช่วยในการสอน การฝึก การพัฒนาทักษะให้กับนิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษา ทำให้เมื่อสำเร็จการศึกษาเขาเหล่านั้นจะเป็นบัณฑิตพร้อมทำงาน มีทักษะ รู้จักแก้ปัญหา มีวุฒิภาวะ มีความอดทน สามารถทำงานเป็นทีมได้ จากประสบการณ์ที่ มทส. เป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ส่งนักศึกษาสหกิจศึกษาชุดแรกจำนวน 123 คน ในปีการศึกษา 2538 มาถึงปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า  100 แห่ง ส่งนักศึกษาปีละไม่น้อยกว่า 27,000 คน จึงอยากเชิญชวนสถาบันการศึกษาดังกล่าวมาร่วมวงษ์ไพบูลย์แลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมพัฒนาสหกิจศึกษาให้แพร่ขยายไปในประชาคมอาเซียน

อธิการบดี มทส. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบัน มทส. เป็นสมาชิกระดับเงินของสมาคมสหกิจศึกษาโลก เคยเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการสหกิจศึกษาโลก ปี 2544 ปัจจุบันเป็นสำนักงานของสมาคมสหกิจศึกษาโลกรองภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก WACE ISO@SUT ซึ่งกำลังจะขยายเครือข่ายไปยังมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนปี2558 โดยอาจจะผ่านทางกรมอาเซียน หรือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) นอกจากนั้น บุคลากรของ มทส. ยังมีส่วนเป็นวิทยากรให้กับสมาคมสหกิจศึกษาไทยและ สกอ. ในการอบรมเชิงปฏิบัติการสหกิจศึกษา หลักสูตรคณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา มาประมาณ 20 รุ่น  และได้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาทางสหกิจศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เนื่องจากจะมีการเลื่อนไหลอย่างอิสระขอแรงงานความรู้ นิสิตนักศึกษา ในสังคมไร้พรมแดน หากมีการผนึกพลังของสถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นผู้นำด้านสหกิจศึกษาในประชาคมอาเซียน น่าจะเรียกศรัทธากลับมาได้บ้าง หลังจากที่ World Economic Forum-WEF จัดคุณภาพระบบอุดมศึกษาไทยอยู่อันดับ 8 ของอาเซียน” ศ. ดร.ประสาท กล่าวสรุป

ที่มา http://web.sut.ac.th/2012/news/detail/1/news20140922