หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนหลังวัยทำงาน



การเรียนก่อนวัยทำงานนั้น  น้องๆ ส่วนใหญ่จะหาที่เรียนดีๆ มีคุณภาพ เพื่อหวังว่าจะเอาความโดดเด่นของสถาบันนั้น ๆ ไปสมัครงานและสร้างข้อได้เปรียบ  แต่พอทำงานไปได้สักพักแล้วทำให้เราอยากจะเรียนเพิ่มเติมหรือเรียนรู้ด้านอื่น ๆ อีกล่ะ ??? จะคิด  จะทำ อย่างไร ??

หลายๆ คนในวัยทำงานจะไม่ค่อยเรียนต่อสักเท่าไร  แต่ถ้าคิดจะเรียนต่อล่ะ ?? สถาบันยังเป็นทางเลือกที่สำคัญอยู่เช่นกัน  แต่จะเพิ่มปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาอีก  เช่น  ค่าเล่าเรียน  การเดินทาง  เวลาเรียนที่ไม่กระทบงานประจำ เป็นต้น  ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เราต้องเริ่มคิดปรับกระบวนการใหม่......เพื่อให้อยู่รอด !!! หุๆๆ

สำหรับผมแล้ว  ก่อนหน้านั้นไม่ได้คิดอะไรมากมายขนาดนี้  แต่พอทำงานไปได้สักพักหนึ่งก็เริ่มคิดอยากเรียนเพิ่มเติมในสายอื่นหรืออาจจะเรียนต่อเนื่องสายเดิมก็ได้  แต่ทำไงดี  การเดินทางไม่ค่อยชินกับที่ใหม่  ที่เรามาอยู่มาทำงาน  จุดตัดสินก็เลยอยู่ที่ปัจจัยเหล่านี้ครับ

  1. ค่าเล่าเรียนไม่แพงเกินไป  แต่ขอให้ได้ความรู้ไปต่อยอด  เพราะ ป.ตรี ที่ผมเรียนจบมานั้น  ก็หนักเอาการแล้ว
  2. สถาบันที่เปิดสอนต้องอยู่ใกล้ที่พักและที่ทำงาน  เพราะว่าเวลาเรียนเสร็จจะได้กลับมาพักผ่อนง่าย ๆ และไม่เสียเวลาด้วย
  3. การเดินทางก็เช่นกัน  รถจะต้องไม่ติดมากเกินไป  เวลาไปเรียนจะได้ไปทันเวลาไม่เสียความรู้นั้นไป
  4. เวลาเรียนต้องไม่กระทบงานประจำ ถ้าหากเวลางานกับเวลาเรียนชนกันแล้ว  ก็จะทำให้เราพลาดการเรียนนั้นไป  เป็นไปได้ก็จะใช้เวลาเสาร์ อาทิตย์  ในการเรียนจะดีกว่า

ในส่วนของสาขาวิชาที่จะเรียนนั้น  จริงก็ไมีหลายสาขาที่อยากเรียนรู้  แต่พอมาทำงานสักพักนึงก็นึกแปลกใจว่า  ทำไมสายงานริหารถึงมีความสำคัญต่อธุรกิจจังเลย ??  ก็เลยคิดว่าจะเรียนรู้ด้านนี้ดูบ้าง  อาจจะเป็นสาขา  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ก็ได้  เพราะถ้าต่อ ป.โท  บริหารธุรกิจ  ก็ยังเป็นสายต่อเนื่องกันนั่นเอง   สำหรับ ป.ตรี ที่ผมเรียนจบมานั้นเป็นสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า  มุมหนึ่งก็อยากเรียนสาขาที่ไม่หนักเอาการอย่างที่ผ่านมาบ้าง ^_^

สำหรับบทความนี้ก็อาจเป็นแนวคิดดี ๆ สำหรับเพื่อนๆ ผู้อ่านได้บ้างนะครับ  แก่นแท้ของชีวิตก็คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  จะทำให้เราพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องตามมาด้วย  เป็นสิ่งที่ผมยึดดำเนินชีวิตอยู่เสมอ  ขอบคุณที่ติดตามครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น